วัดพระธาตุผาเงา
ชื่อของวัดมาจากชื่อของพระธาตุผาเงา ที่ตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ ส่วนคำว่าผาเงาหมายถึง เงาของก้อนผา ก้อนหินก้อนนี้มีขนาดใหญ่ทรงคล้ายเจดีย์ เวลาพระอาทิตย์ส่องผ่านก้อนหินทำให้เกิดเงาขนาดใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า พระธาตุผาเงา แต่ในสมัยก่อนนั้นวัดมีชื่อเดิมว่า วัดสบคำ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงได้พังทลายจากแรงกระแสน้ำ ทำให้วัดถูกพัดพังทลายลงเกือบหมดวัด คณะศรัทธาจึงได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ซึ่งไกลจากที่เดิม ภายในวัดมีพระธาตุอยู่ 3 องค์คือ พระธาตุผาเงาตั้งอยู่บนยอดหินผา ต่อมาคือพระธาตุจอมจัน เหลือแต่ซากองค์พระเจดีย์สูงประมาณ 5 เมตร ในบริเวณพื้นที่นั้นทางวัดได้สร้างโบสถ์ขึ้นมาหลังหนึ่ง ถัดจากพระธาตุจอมจันขึ้นไปบนยอดเขา เป็นที่ตั้งของพระธาตุเจ็ดยอด ซึ่งเหลือแต่ซากฐานสูง 5 เมตร ทางวัดได้สร้างพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ขนาดใหญ่ครอบองค์พระธาตุไว้ แต่ยังคงมองเห็นซากพระธาตุเจ็ดยอดได้ ณ ภายในองค์เจดีย์ ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการปรับพื้นที่บริเวณวัดใหม่ให้เรียบร้อย จึงมีการขุดยกตอไม้ขนาดใหญ่ออกได้พบอิฐโบราณก่อเรียงกันไว้ เมื่อยกอิฐออกจึงพบกับหน้ากากก่อกั้นไว้ พอยกหน้ากากออกจึงพบพระพุทธรูป ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณวัตถุได้วิเคราะห์ว่าน่าจะมีอายุประมาณ 700 – 1,300 ปี จึงได้เรียกพระพุทธรูปที่ขุดพบว่า หลวงพ่อผาเงา สันนิฐานว่า วัดแห่งนี้คงเป็นวัดสำคัญประจำกรุงเก่าจากที่พระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบ ได้ถูกสร้างฝังไว้ใต้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ คงเป็นการปิดบังกลัวถูกโจรกรรมจากพวกหาวัตถุโบราณ Cr. https://www.museumthailand.com/
วัดพระธาตุจอมกิตติ
พระเจ้าพังคราช เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสน ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1458 มีราชโอรสคือ พระเจ้าพรหมมหาราช ทรงสร้างวัดพระธาตุจอมกิตติ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ นอกกำแพงเมืองเชียงแสน พระธาตุเจดีย์ หรือบรมธาตุเจดีย์ มีลักษณะฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ย่อมุมเป็นเรือนธาตุ (ย่อมุมรองรับ) ซึ่งมีซุ้มทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอดเป็นองค์ระฆังกลม ตำนานการสร้างพระธาตุจอมกิตติค่อนข้างจะสับสนพอ ๆ กับตำนานเมืองเชียงแสน ศิลาจารึกวัดพระธาตุจอมกิตติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อตอนที่พระพุทธองค์ได้เสด็จมา ณ ที่นี้ พระองค์ได้ทรงดึงพระเกศาและประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจอมกิตติ แล้วพระองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า แว้นแคว้นแห่งนี้จะคงสืบพระพุทธศาสนาดำรงได้ครบ 5,000 ปี บางตำนานบอกว่า เมืองเชียงแสนนั้นเกิดมาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพ และเคยเสด็จมายังเชียงแสน ประทานเส้นพระเกศาให้ไว้ จึงสร้างพระธาตุขึ้นมาเพื่อประดิษฐาน ตำนานต่อมาที่ค่อนข้างจะแน่นอนกว่าคือการสร้างพระธาตุจอมกิตติโดยพระเจ้าพังคราช เมื่อปี พ.ศ. 1481 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระบรมธาตุมา โดยมีพระพุทธโฆษาจารย์ ชาวมอญ ซึ่งหลังจากเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกาแล้ว จึงกลับมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในมอญ พม่า ตามลำดับจนเข้ามาในโยนกนคร (เชียงแสน) ตรงกับสมัยของพระเจ้าพังคราช ซึ่งยุคนี้พระเจ้าพรหมได้ทรงขับไล่ขอมไปสิ้นจากโยนกหมดแล้ว และพระเจ้าพรหมได้อัญเชิญพระเจ้าพังคราช ราชบิดากลับมาขึ้นครองเมืองเชียงแสน ส่วนพระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ไปสร้างเมืองใหม่คือเมือง “ชัยปราการ” ที่ริมน้ำแม่กก เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน ป้องกันการรุกรานของข้าศึก ซึ่งชัยปราการนี้จะเป็นเมืองหน้าด่านให้เชียงแสน จะสกัดการรุกรานของข้าศึกที่จะยกมาทางด้านทิศตะวันตกไว้ก่อน และได้ครองเมืองชัยปราการ ดังนั้นเมื่อพระพุทธโฆษาจารย์ได้นำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ในเชียงแสน […]
ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน
ถ้ำหลวง ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำจำ ตำบลโป่งผา เป็นถ้ำหินปูนกึ่งแห้งขนาดใหญ่ มีความยาวรวมทั้งสิ้น 10,316 เมตร (สำรวจโดย SMCC, BEC, Unsworth ระหว่างปี พ.ศ. 2557–2559[10]) ถือเป็นถ้ำที่มีความยาวมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย[11] ปากถ้ำเป็นโถงกว้างและสูงกว่าโถงถ้ำแรก ภายในถ้ำสามารถพบเกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำ ถ้ำลอด และถ้ำแขนง แนวโถงถ้ำมีเส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเข้าถึงง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการของถ้ำจำนวนมาก เช่น รอยการไหลของน้ำเป็นริ้วคลื่น (ripple mark) ระดับพื้นถ้ำเก่า หินถล่มขนาดใหญ่และเล็กจำนวนมาก รอยแตกแบบมีแรงดึง (tension crack) รอยระดับน้ำ หลุมยุบ โพรงเพดานถ้ำ และรอยแตกของผนัง ถือเป็นถ้ำที่มีความเหมาะสมในเชิงการศึกษาวิจัย[12] โดยปกติถ้ำหลวงจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้เฉพาะช่วงหน้าแล้ง (เดือนธันวาคม–มิถุนายน) และปิดในช่วงฤดูฝน (กรกฎาคม-พฤศจิกายน[13][14][15]) เนื่องจากมีน้ำไหลผ่านหรือเข้าท่วมพื้นที่บางส่วนของถ้ำ นักท่องเที่ยวสามารถขออนุญาตเจ้าหน้าที่เข้าชมถ้ำได้ด้วยตัวเองหรือติดต่อผ่านทางเจ้าหน้าที่ให้ชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นผู้นำเที่ยว ภายในถ้ำไม่มีการติดตั้งไฟส่องสว่าง นักท่องเที่ยวต้องยืมหรือเช่าไฟฉายจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว[12] พันธุ์พืชหลักที่พบในบริเวณถ้ำได้แก่ เสี้ยว ผีเสื้อ แดงดง (Walsura robusta) ค้างคาว (Aglaia edulis) และขี้เหล็กเทศ โดยผีเสื้อและแดงดงเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนเสี้ยวแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก ส่วนในถ้ำยังเป็นที่อาศัยของค้างคาว[12] […]